bpng

บทสวดคอร์ส 5

ดาวน์โหลด PDF

วิปัสสนาภูมิ


20. โพธิปักขิยะธรรม 37

องค์ธรรมที่เป็นไปเพื่อการตรัสรู้ ได้แก่

  1. สติปัฏฐาน 4 ที่ตั้งของการระลึกรู้ 4 อย่าง ได้แก่
    ระลึกรู้กาย เวทนา จิต ธรรม
  2. สัมมัปปธาน 4 ความเพียรที่ยิ่งใหญ่, เพียรถูกต้อง, เพียรเพื่อดับทุกข์ 4 อย่าง ได้แก่
    • สังวรปธาน คือ เพียรสำรวมระวังกีดกั้นกิเลสรักษาจิต
    • ปหานปธาน คือ เพียรลบ, ละ, วาง, ตัด, ฆ่า ความคิดที่เกิดขึ้นในจิต
    • ภาวนาปธาน คือ เพียรกำหนดรู้ให้สติเจริญอย่างต่อเนื่องจนก่อเกิดเป็นสมาธิและปัญญา
    • อนุรักขนาปธาน คือ เพียรรักษาสติ สมาธิ ปัญญา ที่ตั้งมั่นแล้วให้เจริญไพบูลย์ยิ่งๆ ขึ้นไป
  3. อิทธิบาท 4 ธรรมอันเป็นบาทฐานนำไปสู่ความสำเร็จ 4 อย่าง ได้แก่
    ฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสา
  4. อินทรีย์ 5 ธรรมนำไปสู่ความเป็นใหญ่ ความอิสระ 5 อย่าง ได้แก่
    ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา
  5. พละ 5 กำลังสู่ความหลุดพ้น 5 อย่าง ได้แก่
    ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา
  6. โพชฌงค์ 7 องค์ธรรมประกอบสู่การรู้แจ้ง, 7 ก้าวสู่ความเป็นพุทธะ ได้แก่
    • สติ คือความระลึกรู้, ความรู้สึกตัว
    • ธัมมวิจัย คือ การสังเกต
    • วิริยะ คือ ความเพียรต่อเนื่อง
    • ปีติ คือ ความโล่งโปร่งเบากายเบาใจ
    • ปัสสัทธิ คือ ความสงบจิต
    • สมาธิ คือ ความตั้งมั่นของจิต
    • อุเบกขา คือ รู้เห็นเฉยๆ
  7. อริยมรรค 8 ทางสู่ความพ้นทุกข์, บันได 8 ขั้นสู่ความหลุดพ้น ได้แก่
    • สัมมาทิฏฐิ เห็นถูก
    • สัมมาสังกัปปะ คิดถูก
    • สัมมาวาจา พูดถูก
    • สัมมากัมมันตะ ทำถูก
    • สัมมาอาชีวะ อาชีพถูก
    • สัมมาวายามะ เพียรถูก
    • สัมมาสติ ระลึกรู้ถูก
    • สัมมาสมาธิ จิตตั้งมั่นถูก.

21. ขันธ์ 5

กลุ่มกองของจิต 5 ลักษณะ ได้แก่

  1. รูปขันธ์ รูปความคิด
  2. เวทนาขันธ์ การเสวยอารมณ์ เช่น สุข ทุกข์ หรือเฉยๆ
  3. สัญญาขันธ์ ความจำ
  4. สังขารขันธ์ ความคิดปรุงแต่ง
  5. วิญญาณขันธ์ ความรู้ทางอายตนะ 6

22. อริยสัจจ์ 4

ความจริงอันประเสริฐ, สัจจธรรมในใจที่ไกลกิเลส 4 อย่าง ได้แก่

  1. ทุกข์ คือ ความพอใจไม่พอใจ
  2. สมุทัย ความไม่รู้แจ้ง
  3. นิโรธ ความดับสนิทของทุกข์, ดับไม่เกิดอีก
  4. มรรค ความรู้ตัวทั่วพร้อม

23. ปฏิจจสมุปบาท 12

การปะติปะต่อของเหตุปัจจัยในจิตที่ทำให้เกิดทุกข์ 12 อาการ ได้แก่

  1. อวิชชา ความไม่รู้แจ้ง
  2. สังขาร ความปรุงแต่ง
  3. วิญญาณ ความรู้ไหลไปกับอารมณ์
  4. นามรูป รูปร่างของความคิด, จินตนาการ
  5. สฬายตนะ ความคิดเกิดกับอายตนะ
  6. ผัสสะ การกระทบ
  7. เวทนา เสวยอารมณ์พอใจไม่พอใจ
  8. ตัณหา ความทะยานอยาก
  9. อุปาทาน ความยึดมั่น ติดอกติดใจ
  10. ภพ ที่อยู่ของจิตที่เกิดจากอุปาทานขันธ์, แคปซูลความคิด, เหมือนเมล็ดพืชที่รอการเกิด
  11. ชาติ ความปรากฏเกิดขึ้นแห่งขันธ์ทั้งหลาย, ความคิดขณะหนึ่งๆ
  12. ชรามรณะ ความแก่และความตาย, ความเสื่อมสลายแห่งธาตุขันธ์