bpng

บทท่องจำก่อนเข้าอยู่ร่วมสำนัก สำหรับภิกษุ-สามเณร-ชี

ดาวน์โหลด PDF

1-4 ทดสอบผ่านก่อนเข้าอยู่วัด, 5-9 ควรทำความเข้าใจ


1. อนุโมทนารัมภคาถา

ยะถาวาริวะหา ปูราปะริปูเรนติ สาคะรัง;
ห้วงน้ำที่เต็มย่อมยังสมุทรสาครให้บริบูรณ์ได้ฉันใด;

เอวะเมวะ อิโต ทินนัง เปตานัง อุปะกัปปะติ;
ทานที่ท่านได้อุทิศให้แล้วในโลกนี้ย่อมสำเร็จประโยชน์แก่ผู้ที่ละโลกนี้ไปแล้วได้ฉันนั้น;

อิจฉิตัง ปัตถิตัง ตุมหัง;
ขออิฏฐผลที่ท่านปรารถนาแล้ว ตั้งใจแล้ว;

ขิปปะเมวะ สะมิชฌะตุ;
จงสำเร็จโดยฉับพลัน;

สัพเพ ปูเรนตุสัง กัปปา;
ขอความดำริทั้งปวงจงเต็มที่;

จันโท ปัณณะระโสยะถา;
เหมือนพระจันทร์ในวันเพ็ญ;

มะณีโชติระโส ยะถา.
เหมือนแก้วมณีอันสว่างสดใสควรยินดี.

2. สามัญญานุโมทนาคาถา

สัพพีติโย วิวัชชันตุ;
ความจัญไรทั้งปวงจงบำราศไป;

สัพพะโรโค วินัสสะตุ;
โรคทั้งปวงของท่านจงหาย;

มา เต ภะวัตวันตะราโย;
อันตรายอย่ามีแก่ท่าน;

สุขี ทีฆายุโก ภะวะ;
ท่านจงเป็นผู้มีความสุขมีอายุยืน

อภิวาทะนะสีลิสสะ นิจจัง วุฑฒาปะจายิโน จัตตาโร ธัมมา วัฑฒันติ อายุ วัณโณ สุขัง พะลัง;
พรสี่ประการคืออายุ วรรณะ สุขะ พละ ย่อมเจริญแก่บุคคลผู้มีปรกติไหว้กราบมีปรกติอ่อนน้อมต่อผู้ใหญ่เป็นนิจ;

ภะวะตุ สัพพะมังคะลัง;
ขอสรรพมงคลจงมีแก่ท่าน;

รักขันตุ สัพพะเทวะตา;
ขอเหล่าเทวดาทั้งปวงจงรักษาท่าน;

สัพพะพุทธานุภาเวนะ;
ด้วยอานุภาพแห่งพระพุทธเจ้า;

สัพพะธัมมานุภาเวนะ;
ด้วยอานุภาพแห่งพระธรรม;

สัพพะสังฆานุภาเวนะ;
ด้วยอานุภาพแห่งพระสงฆ์;

สะทา โสตถี ภะวันตุเต.
ขอความสวัสดีทั้งหลาย จงมีแก่ท่านทุกเมื่อเทอญ.

3. โสอัตถลัทโท

เต อัตถะลัททา สุขิตา;
ท่านชายและหญิง จงเป็นผู้มีประโยชน์อันได้แล้ว ถึงแล้วซึ่งความสุข;

วิรุฬหาพุทธะสาสะเน;
เจริญในพระพุทธศาสนา;

อะโรคา สุขิตาโหถะ;
ไม่มีโรค ถึงแล้วซึ่งความสุข;

สะหะ สัพเพหิ ญาติภิ.
พร้อมกับด้วยญาติทั้งหลายทั้งชายและหญิงจงเป็นผู้รักษาศีลให้บริบูรณ์เทอญ.

4. คำแสดงอาบัติ

ผู้แสดงพรรษาอ่อนกว่าว่า:
สัพพา ตา อาปัตติโย อาโรเจมิ (ว่า ๓ หน)
สัพพา ละหุกา อาปัตติโย อาโรเจมิ(ว่า ๓หน)
อะหัง ภันเต สัมพะหุลา นานาวัตถุกาโย อาปัตติโย
อาปัชชิง ตา ตุมหะมูเล ปะฏิเทเสมิ

ผู้รับพรรษาแก่กว่าว่า:
ปัสสะสิ อาวุโสตา อาปัตติโย

ผู้แสดงพรรษาอ่อนกว่าว่า:
อุกาสะ อามะ ภันเตปัสสามิ

ผู้รับพรรษาแก่กว่าว่า:
อายะติง อาวุโส สังวะเรยยาสิ

ผู้แสดงพรรษาอ่อนกว่าว่า:
สาธุ สุฏฐุ ภันเต สังวะริสสามิ
ทุติยัมปิ สาธุ สุฏฐุ ภันเต สังวะริสสามิ
ตะติยัมปิ สาธุ สฎฐุ ภันเต สังวะริสสามิ
นะ ปุเนวัง กะริสสามิ (ผู้รับว่า) สาธุ
นะ ปุเนวัง ภาสิสสามิ (ผู้รับว่า) สาธุ
นะ ปุเนวัง จินตะยิสสามิ (ผู้รับว่า) สาธุ

ผู้แสดงพรรษาแก่กว่าว่า:
สัพพา ตา อาปัตติโย อาโรเจมิ (ว่า ๓ หน)
สัพพา ละหุกา อาปัตติโย อาโรเจมิ (ว่า ๓ หน)
อะหัง อาวุโส สัมพะหุลา นานาวัตถุกาโย อาปัตติโย
อาปัชชิง ตา ตุมหะมูเล ปะฏิเทเสมิ

ผู้รับพรรษาอ่อนกว่าว่า:
อุกาสะ ปัสสะถะ ภันเต ตา อาปัตติโย

ผู้แสดงพรรษาแก่กว่าว่า:
อามะ อาวุโส ปัสสามิ

ผู้รับพรรษาอ่อนกว่าว่า:
อายะติง ภันเต สังวะเรยยาถะ

ผู้แสดงพรรษาแก่กว่าว่า:
สาธุ สุฏฐุ อาวุโส สังวะริสสามิ
ทุติยัมปิ สาธุ สุฏฐุ อาวุโส สังวะริสสามิ
ตะติยัมปิ สาธุ สุฏฐุ อาวุโส สังวะริสสามิ
นะ ปุเนวัง กะริสสามิ (ผู้รับว่า) สาธุ
นะ ปุเนวัง ภาสิสสามิ (ผู้รับว่า) สาธุ
นะ ปุเนวัง จินตะยิสสามิ (ผู้รับว่า) สาธุ

5. กาลทานสุตตคาถา

ผู้มีปัญญารอบรู้และปราศจากความตระหนี่; ย่อมถวายทานตามกาลสมัย ในพระอริยเจ้าทั้งหลายผู้ประพฤติตรงคงที่; เมื่อมีใจเลื่อมใสศรัทธาแล้ว ทักษิณาทานย่อมมีผลอันไพบูลย์; ชนทั้งหลายเหล่าใดร่วมอนุโมทนา หรือช่วยกระทำการขวนขวายในทานนี้: ทักษิณาทานนั้น มิได้พร่องไปด้วยเหตุแห่งอนุโมทนานั้นเลย; แม้ชนผู้ร่วมอนุโมทนา ก็มีส่วนแห่งบุญด้วย; เพราะฉะนั้น เมื่อบุคคลไม่มีจิตท้อถอยในทาน ทานนั้นย่อมมีผลมาก; บุญที่ทำแล้ว ย่อมเป็นที่พึ่งของท่านทั้งหลาย ในกาลข้างหน้าได้แล.

6. อัคคัปปทานสุตตคาถา

เมื่อบุคคลรู้จักธรรมอันเลิศ เลื่อมใสแล้วโดยความเป็นของเลิศ; เลื่อมใสแล้วในพระพุทธเจ้าผู้เลิศ, ซึ่งเป็นทักษิเณยยะบุคคลอันยอดเยี่ยม; เลื่อมใสแล้วในพระธรรมอันเลิศ; ซึ่งเป็นธรรมปราศจากราคะ; สงบระงับเป็นสุข; เลื่อมใสแล้วในพระสงฆ์ผู้เลิศ; ซึ่งเป็นเนื้อนาบุญอย่างยอดเยี่ยม; ถวายทานในท่านผู้เลิศ; บุญที่เลิศย่อมเจริญ: อายุวรรณะที่เลิศ; และยศเกียรติคุณสุขพละที่เลิศย่อมเจริญ;ผู้มีปัญญาย่อมให้ทานแก่ท่านผู้เลิศ: และเป็นผู้ตั้งมั่นอยู่ในธรรมอันเลิศ; จะไปเกิดเป็นเทวดาหรือมนุษย์ก็ตาม; ย่อมถึงความเป็นผู้เลิศอันบันเทิงอยู่ ดังนี้แล.

7. บทพิจารณาก่อนฉันอาหาร

ปะฏิสังขา โยนิโสปิณฑะปาตั้งปะฏิเสวามิ; เราย่อมพิจารณาโดยแยบคายแล้วฉันบิณฑบาต; เนวะทะวายะ; ไม่ใช่เป็นไปเพื่อความเพลิดเพลินสนุกสนาน; นะมะทายะ; ไม่ใช่เป็นไปเพื่อความเมามันเกิดกำลังพลังทางกาย; นะมัณฑะนายะ; ไม่ใช่เป็นไปเพื่อประดับ; นะวิภูสะนายะ; ไม่ใช่เป็นไปเพื่อตกแต่ง; ยาวะเทวะอิมัสสะกายัสสะฐิติยา; แต่ให้เป็นเพียงเพื่อความตั้งอยู่ได้แห่งกายนี้; ยาปะนายะ; เพื่อความเป็นไปได้ของอัตตภาพ; วิหิงสุปะระติยา; เพื่อความสิ้นไปแห่งความลำบากทางกาย; พรัหมะจะริยานุคคะหายะ, เพื่ออนุเคราะห์แก่การประพฤติพรหมจรรย์; อิติ ปุราณัญจะ เวทะนังปะฏิหังขามิ; ด้วยการทำอย่างนี้เราย่อมระงับเสียได้ซึ่งทุกขเวทนาเก่าคือความหิว; นะวัญจะเวทะนังนะอุปปาเทสามิ; และไม่ทำทุกขเวทนาใหม่ให้เกิดขึ้น; ยาตรา จะเม ภะวิสสะติ อะนะวัชชะตา จะผาสุวิหาโร จาติ; อนึ่งความเป็นไปโดยสะดวกแห่งอัตตภาพนี้ด้วยความเป็นผู้หาโทษมิได้ด้วยและความเป็นอยู่โดยผาสุกด้วยจักมีแก่เรา ดังนี้.

8. บทพิจารณาขณะฉันอาหาร

ยะถาปัจจะยัง ปะวัตตะมานัง ธาตุมัตตะเมเวตัง; สิ่งเหล่านี้นี่เป็นสักว่าธาตุตามธรรมชาติเท่านั้นกำลังเป็นไปตามเหตุตามปัจจัยอยู่เนืองนิจ; ยะทิทัง ปิณฑะปาโต ตะทุปะภุญชะโก จะปุคคะโล; สิ่งเหล่านี้คือบิณฑบาตและคนผู้บริโภคบิณฑบาตนั้น; ธาตุมัตตะโก; เป็นสักว่าธาตุตามธรรมชาติ; นิสสัตโต; มิได้เป็นสัตวะอันยั่งยืน; นิชชีโว; มิได้เป็นชีวะอันเป็นบุรุษบุคคล; สุญโญ; ว่างเปล่าจากความหมายแห่งความเป็นตัวตน; สัพโพ ปะนายัง ปิณฑะปาโต อะชิคุจฉะนีโย; ก็บิณฑบาตทั้งหมดนี้ไม่เป็นของน่าเกลียดมาแต่เดิม; อิมัง ปูติกายัง ปัตวา; ครั้นมาถูกเข้ากับกายอันเน่าอยู่เป็นนิจนี้แล้ว; อะติวิยะ ชิคุจฉะนีโย ชายะติ; ย่อมกลายเป็นของน่าเกลียดอย่างยิ่งไปด้วยกัน.

9. ธรรมที่ควรพิจารณาเนืองๆ 10 อย่าง

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๑๐ ประการเหล่านี้มีอยู่ เป็นธรรมที่บรรพชิตควรพิจารณาให้แจ่มชัดอยู่เนืองนิจ; ธรรม ๑๐ ประการเหล่านี้เป็นไฉน;

  1. บรรพชิตควรพิจารณาเนืองๆ ว่า เรามีเพศต่างจากคฤหัสถ์แล้ว อาการกิริยาใดๆของสมณะ เราต้องทำอาการกิริยานั้นๆ;
  2. บรรพชิตควรพิจารณาเนืองๆ ว่า การเลี้ยงชีวิตของเราเนื่องด้วยผู้อื่น เราควรทำตัวให้เขาเลี้ยงง่าย;
  3. บรรพชิตควรพิจารณาเนืองๆ ว่า อาการกาย วาจาอย่างอื่น ที่เราจะต้องทำให้ดีขึ้นไปกว่านี้ ยังมีอยู่อีก มิใช่เพียงเท่านี้;
  4. บรรพชิตควรพิจารณาเนืองๆ ว่า ตัวเราเองติเตียนตัวเราเองโดยศีลได้หรือไม่;
  5. บรรพชิตควรพิจารณาเนืองๆ ว่า เมื่อกล่าวโดยศีลแล้ว เพื่อนสพรหมจารี ที่เป็นวิญญูชนใคร่ครวญแล้วติเตียนเราโดยศีลได้หรือไม่;
  6. บรรพชิตควรพิจารณาเนืองๆ ว่า เราจักพลัดพรากจากของรักของชอบใจทั้งนั้น;
  7. บรรพชิตควรพิจารณาเนืองๆ ว่า เรามีกรรมเป็นของตน มีกรรมเป็นผู้ให้ผลมีกรรมเป็นที่กำเนิด มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ มีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย เราทำกรรมอันใดไว้ดีก็ตาม ชั่วก็ตาม เราจักเป็นผู้รับผลของกรรมนั้น;
  8. บรรพชิตควรพิจารณาเนื่องๆ ว่า วันคืนล่วงไปๆ บัดนี้ เราทำอะไรอยู่;
  9. บรรพชิตควรพิจารณาเนืองๆ ว่า เรายินดีในที่สงัดหรือไม่;
  10. บรรพชิตควรพิจารณาเนืองๆ ว่า ญาณทัสสนะอันวิเศษควรแก่พระอริยเจ้าอันเป็นธรรมอันยิ่งที่เราได้ถึงแล้ว มีอยู่หรือไม่ เราจะไม่เป็นผู้เก้อเขินเมื่อถูกเพื่อนสพรหมจารีด้วยกัน ถามในกาลภายหลัง;

ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๑๐ ประการเหล่านี้นี่แล อันบรรพชิตควรพิจารณาให้แจ่มชัด อยู่เนืองนิจ; ด้วยอาการอย่างนี้แล.